ถ่ายไม่ออกกินอะไรดี ?

         คงจะไม่ดีแน่ ๆ หากใครมีปัญหาท้องผูกบ่อย ๆ ขับถ่ายยาก บางท่านอาจจะมองเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป ถึงแม้ดูเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลใจ แต่ก็สร้างความทรมานได้ไม่น้อย และอาจส่งผลเสียต่อร่างกายส่วนอื่น ๆ อีกด้วย ปัญหาท้องผูกเกิดจากได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป การดื่มน้ำไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย การตั้งครรภ์ การใช้ยาบางชนิด หรือมีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลาหนึ่ง


แล้วอาการแบบไหน....เรียกว่า " ท้องผูก "

    อาการท้องผูกมักจะเป็นการถ่ายอุจจาระไม่บ่อย ถ่ายลำบาก ถ่ายไม่สุด หรืออุจจาระมีลักษณะแข็ง ต้องใช้แรงเบ่งอย่างมาก ใช้เวลาขับถ่ายนานกว่าเดิม ทางการแพทย์ได้นิยามความหมายของอาการท้องผูกว่าเป็นภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

    นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการไม่ถ่ายอุจจาระทุกวันอาจเป็นสัญญาณของอาการท้องผูก ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะความจริงแล้วจำนวนการถ่ายอุจจาระของคนเราจะลดลงตามอายุ ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจะถ่ายอุจจาระอยู่ในช่วงประมาณ 3-21 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งถือเป็นการถ่ายที่ปกติ

    ดังนั้น ผู้ที่ไม่ได้ถ่ายอุจจาระทุกวันก็อาจไม่ได้หมายถึงมีอาการท้องผูกแต่อย่างใด ตราบใดที่สุขภาพแข็งแรงและมีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

5 สิ่งทำให้ท้องผูก...ขับถ่ายยาก

  • การอั้นอุจจาระ
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
  • ดื่มน้ำเปล่าน้อย ดื่มชา กาแฟเยอะ
  • เคลื่อนไหวร่างกายน้อย (นั่งนาน)
  • ความเครียดสะสม


วิธีแก้ท้องผูกแบบง่าย ๆ 

1. เพิ่มใยอาหารให้มากขึ้น

    คือการรับประทานใยอาหารหรือไฟเบอร์เพื่อช่วยให้ลำไส้กลับมาทำงานเป็นปกติ โดยทั่วไปคนเราควรได้รับใยอาหารประมาณ 20-35 กรัมต่อวัน ซึ่งพบได้มากในอาหารประเภทผัก ผลไม้สดหรือแห้ง ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ลูกพรุน แครอท หน่อไม้ฝรั่ง ลูกเกด

2. ดื่มน้ำให้มากขึ้น

    แม้ว่าน้ำที่เข้าสู่ร่างกายจะถูกขับผ่านทางปัสสาวะเป็นหลัก แต่บางส่วนจะถูกขับผ่านทางอุจจาระเช่นกัน ผู้ที่มีอาการท้องผูกจึงควรดื่มน้ำสะอาดควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารด้วย เพื่อช่วยให้ใยอาหารดูดซับน้ำได้ดี ทำให้อุจจาระพองตัว นุ่ม และเบ่งออกได้ง่าย และช่วยบรรเทาป้องกันอาการท้องอืดจากการรับประทานใยอาหารมากเกินไป

3. ขยันออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    ควรออกกำลังกายเป็นประจำประมาณ 30 นาทีต่อวัน อาจเป็นการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะ ๆ รวมไปถึงพยายามเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ เพื่อช่วยเพิ่มการบีบตัวของลำไส้มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อและระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติมากขึ้น

4. ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้ถูกต้อง

    ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อยควรเริ่มปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวันเพื่อให้ร่างกายเกิดความคุ้นเคย นอกจากนี้ ท่านั่งในการถ่ายอุจจาระก็สำคัญ การนั่งถ่ายบนโถส้วมชักโครกควรโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย อาจมีเก้าอี้ตัวเล็กรองบริเวณเท้า เพื่อชันเข่าขึ้นมาเล็กน้อย ทำให้หัวเข่าอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าสะโพก ซึ่งเป็นท่าที่ช่วยให้สะดวกต่อการขับถ่าย

5. ตัวช่วยเรื่องการขับถ่ายด้วย 8ct oil
    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นน้ำมันบริสุทธิ์ ที่เปรียบเหมือนแหล่ง พลังงานประสิทธิภาพสูง เพราะเป็นน้ำมันที่มี โมเลกุลขนาดเล็ก มีส่วนช่วยล้างลำไส้ช่วยให้มีการขับของเสียได้ดี โดยไม่ต้องพึ่งยาระบาย โดยเฉพาะท่านที่มักท้องผูก นอกจากนี้  ทำให้สมองลื่น ลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยให้ร่างกายสดชื่น กระปรี่กระเปร่า ปรับสมดุลฮอร์โมนและช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ 




อ้างอิงข้อมูลจาก : cigna.co.th
                            : pobpad.com
                            : anmum.com


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม