ครีมกันแดดทาหน้ายี่ห้อไหนดี


ครีมกันแดดทาหน้ายี่ห้อไหนดี?




คงไม่มีครีมกันแดดที่ดีที่สุดสำหรับคนทุกคน ดังนั้นเราต้องเข้าใจครีมกันแดดก่อนเพื่อที่จะเลือกครีมกันแดดที่เหมาะกับเราที่สุด

ทั่วไปคนจะแบ่งครีมกันแดดแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ Chemical กับ Physical แต่เราขอแบ่งเป็น 4 ประเภท

1. Chemical sunscreen

Chemical sunscreen หรือ ครีมกันแดดประเภทเคมี หลักการทำงานคือเมื่อแสงตกกระทบผิว ตัวครีมกันแดดจะดูดรังสียูวี ไว้บนใบหน้าไม่ให้ผ่านเข้าไปทำร้ายผิวหนัง

สารกันแดดประเภทเคมีมีมากมาย อาทิเช่น Oxybenzone,  Octyl methoxycinnamate, Octocrylene, Homosalate, Octisalate, Avobenzone, Mexoryl SX 

ข้อดี
  •  ส่วนใหญ่เนื้อจะเบาเกลี่ยง่ายกว่า สารกันแดดแบบ physical
ข้อเสีย
  • อาจก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง ตัวอย่างเช่นเวลาเราทาครีมกันแดดแล้วผิวยังแดงหลังโดนแดด 
  • ต้องรอ 10-20 นาทีก่อนออกแดด
  • ต้องทาซ้ำบ่อยครั้งเนื่องจากประสิทธิภาพจะลดลงตามปริมาณแสงแดด
  • สารกันแดดเคมีบางชนิดยังสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศน์ทางทะเล เช่น ทำให้ปะการังตาย (ref. http://www.marinesafe.org/blog/2016/03/18/sunscreen-pollution/ https://www.nytimes.com/2018/05/03/travel/hawaii-sunscreen-ban.html)


2. Physical Sunscreen

Physical sunscreen หรือครีมกันแดดแบบ non-chemical ซึ่งบางทีก็ถูกเรียกว่า mineral sunscreen เพราะใช้แร่ธาตุ (mineral) เป็นส่วนผสมในการปกป้องผิวจากแสงแดด หรือบางทีถูกจัดกลุ่มให้ร่วมอยู่ใน natural sunscreen สารกันแดดประเภทนี้จะปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยการสะท้อนรังสียูวีออกจากใบหน้า
สารกันแดดประเภท physical มี 2 ตัวคือ Zinc Oxide กับ Titanium dioxide

ข้อดี
  • ประสิทธิภาพการกันแดดเสถียรกว่าครีมกันแดดประเภทเคมี สามารถกันแดดได้คงทนกว่า
  • ไม่เป็นสาเหตุของการอุดตันหรือการแพ้
  • สามารถทาแล้วออกแดดได้ทันที
ข้อเสีย
  • เนื้อจะหนากว่ากันแดดแบบ physical ทำให้เกลี่ยค่อนข้างยาก

ตัวอย่าง Physical sunscreen


3. Natural Sunscreen

Natural sunscreen คือครีมกันแดดที่ใช้สารกันแดดจากธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากใยไหม ทานาคา น้ำมันเมล็ดแครอท และอื่นๆอีกมากมาย

ข้อดี 
  • ความเป็นธรรมชาติ
ข้อเสีย
  • spf หรือค่าการปกป้องจะค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับครีมกันแดดสองประเภทแรก จะทำได้อยู่ที่ประมาณที่ 20
  • อาจจะป้องกันได้ในช่วงความถี่ที่แคบกว่าสารกันแดดชนิดอื่น (ไม่ใช่ broad spectrum)

4. Hybrid

แบบผสม เป็นการผสมระหว่างสารกันแดดหลายประเภทที่กล่าวมา

จะดูยังไงว่าครีมกันแดดที่เราใช้เป็นครีมกันแดดแบบไหน ?

ปัจจุบันแบรนด์ต่างๆจะระบุอยู่บนฉลาก แต่ถ้าหากไม่ระบุสามารถดูบนฉลากว่ามีส่วนประกอบของสารกันแดดชนิดใด

สิ่งที่หลายๆคนยังไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับครีมกันแดด

  • PA ค่าบอกประสิทธิภาพการปกป้อง UVA   
  • SPF ค่าบอกประสิทธิภาพการปกป้อง UVB 
  • วิธีจำง่ายๆว่ารังสีมีผลเสียอะไรคือ UVA A-> Aging ทำให้ผิวเหี่ยว UVB B --> Burn ทำให้ไหม้ คล้ำดำเสีย
  • ค่าPAเริ่มมาจากญี่ปุ่น (อันนี้ไม่แน่ใจ) ดังนั้นในบางผลิตภัณฑ์เราจะไม่เห็นค่า PA แต่เราสามารถอ่านฉลากดูว่ากันแดดนั้นๆกัน UVA ได้รึเปล่า เช่น มีการระบุว่า broad spectrum ซึ่งก็หมายความว่ากันได้ทั้ง UVA และ UVB  เช่นกัน
  • ไม่มีกันแดดไหนกันน้ำได้ตลอด ดังนั้นตอนนี้ FDA ไม่ให้ระบุ waterproof แล้ว แต่ให้บอกว่า water resistant ได้นานเท่าไหร่แทน 
  • nonchemical ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสารเคมี แต่เพียงแต่สารกันแดดนั้นเป็นสารเป็น physical หรือ natural แต่ส่วนประกอบอื่นๆก็ยังมีเคมีเป็นส่วนผสม จริงๆเรื่องนี้พูดได้อีกยาวเพราะว่า หลายสินค้าที่ระบุ natural หรือ organics ในท้องตลาด ถ้าเราดูส่วนประกอบบางอันยังเคมีมากกว่าอันที่ไม่ระบุเป็น natural สะอีก
  • ทำไมคนชอบว่าให้ทากันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง นั้นเป็นเพราะว่ากันแดดในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นแบบ Chemical และอย่างที่ได้อธิบายไปข้างบนว่าสารกันแดดจะประสิทธิภาพลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นจึงต้องทาซ้ำ
  • ค่าSPFยิ่งมากยิ่งปกป้องได้มาก จริง แต่ไม่ทั้งหมด ที่สำคัญสุดเลยคือปริมาณการทา เพราะค่าSPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปประสิทธิภาพการปกป้องแทบจะไม่ต่างกันเลย มันคือเหตุผลที่ทำให้FDA สั่งห้ามเคลม SPF ที่มากกว่า 50 ขึ้นไป  เราจึงเห็นครีมกันแดดหลายตัวที่เคยมีค่า spf เกิน 50 ต้องเปลี่ยนฉลากใหม่


หวังว่าบทความนี้จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับครีมกันแดดของหลายๆคนให้กระจ่าง และช่วยให้สามารถเลือกครีมกันแดดที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณเองได้

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม